BumQ 3

เครื่องบินฝึกไอพ่น T-33

T-33
เครื่องบินฝึกไอพ่
ากจะกล่าวถึงเครื่องบินฝึกไอพ่นอย่าง T-33 แล้ว คิดว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก โดยเฉพาะคนที่ชอบเครื่องบิน เพราะเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบ T-33 เป็นเครื่องไอพ่นแบบแรกของกองทัพอากาศและเป็นเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบแรกของกองทัพอากาศสหรัฐฯ

เครื่องบินฝึกไอพ่นแบบ T-33 สร้างโดยบริษัทล๊อคฮีท (Lockheed) ผู้สร้างเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ F-16 ในปัจจุบันนั่นเอง โดย T-33 ได้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากเครื่องบินขับไล่ไอพ่น F-80 ที่ใช้ในช่วงสงครามเกาหลีตอนต้น โดยช่วงแรกนั้นได้กำหนดชื่อสัญลักษณ์ของกองทัพอากาศสหรัฐฯว่า TF-80C ต่อมาจัดเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯโดยกำหนดชื่อเป็น TV-2

องทัพอากาศไทยได้รับ T-33A รุ่นแรกจากสหรัฐฯตามความช่วยทางทหารเพื่อปรับปรุงกองทัพ โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯได้ทำการฝึกนักบินไทยตามความช่วยเหลือทางทหารที่ฐานทัพอากาศ โยโกต้า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย พล.อ.ท.ทวี จุลละทรัพย์  พล.อ.ต.บุญชู จันทรุเบกษา และ พล.อ.ต.มานพ สุริยะ ในช่วงปี 2498 โดยที่นักบินทั้ง 3 ท่าน ซึ่งถือว่าเป็นนักบินเจ็ตรุ่นบุกเบิก 3 คนแรกของประเทศไทย ที่ไปทำการฝึกบินที่ประเทศญี่ปุ่น แล้วนำเครื่องเหล่านี้กลับมาเมืองไทย

นายพลอากาศทั้ง 3 นายที่มียศขณะนั้นท่านได้รับคำสั่งจาก จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้ไปฝึกเครื่องบินไอพ่นและให้นำเครื่องบินไอพ่นแบบ T-33A กลับมาเมืองไทย ชนิดที่ว่า ก่อนไปนั้นว่ากันว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอเมริกาโรเบิร์ต แม็กนามารา ซึ่งเคยดูถูกดูแคลนนักบินไทยว่า "แค่เครื่องบินขับไล่แบบสปีตไฟร์ท นักบินไทยก็นำไปตก แล้วจะไปบินอะไรได้กับเครื่องไอพ่น"

พลอากาศโท ทวี จุลละทรัพย์ นักบินขับไล่ฝีมือเยี่ยมอดีตผู้บังคับฝูงบินขับไล่ฮายาบูซ่า เครื่องบินขับไล่ที่สุดยอดที่สุดของไทยและญี่ปุ่นในภูมิภาคแทบนี้ เป็นหัวหน้าชุดเดินทางไปทำการฝึกบินและรับเครื่องบินชุดนี้ ท่านก็ตอบเจ้าหน้าที่อเมริกันที่ชอบดูถูกดูแคลนคนเอเชียไปว่า "สมัยก่อนที่ญี่ปุ่นจะโจมตีเพิลฮาเบอร์นั้น ทางหน่วยสืบราชการลับของอเมริกาได้ทราบว่านักบินญี่ปุ่นไม่มีความสามารถในการบินเทียบเท่านักบินอเมริกัน เพราะชาวญี่ปุ่นส่วมมากสวมแว่นตา ซึ่งส่งผลให้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นอย่างไรก็รู้อยู่แล้ว" เจ้าหน้าที่อเมริกันจึงยอมและให้สัญญาว่า ถ้าปล่อยให้บินเดี่ยวได้ ก็จะปล่อยให้นำเครื่องบิน T-33A กลับเมืองไทยได้เลย

โดยเฉพาะนายพลทั้ง 3 ท่าน ที่เคยเป็นนักบินขับไล่ฮายาบูซ่า และ โอตะ ไล่ยิงเครื่องบินอเมริกันเหนือน่านฟ้าไทยมาแล้ว เพียงแค่ 3 สัปดาห์ ท่านทั้ง 3 ก็ปล่อยเดี่ยวและพร้อมที่จะนำเครื่องบิน 3 เครื่องแรกกลับสู่ประเทศไทย

วันที่ 27 กรกฏาคม พ.ศ. 2498 นายพลทั้ง 3 และนักบินอเมริกันก็นำเครื่องบินไอพ่นแบบ T-33A  สามเครื่องแรก มาลงยังสนามบินดอนเมือง โดยมีจอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ผู้บัญชาการทหารอากาศ สมัยนั้นและอดีตเจ้ากรมอากาศยาน ผู้ที่ชาวเวหาถือว่าเป็นบุพการีของกองทัพอากาศ คือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ที่ไปคอยรับและท่านได้กล่าวอย่างยินดีว่า "ผมขอแสดงความยินดีและปลื้มใจในพวกคุณมาก คุณทวีฯ ผมได้เคยนำเครื่องบินใบพัดเข้ามา แต่บัดนี้พวกคุณได้นำเครื่องบินเจ็ตเข้ามา นับว่าเป็นก้าวหนึ่งที่กองทัพอากาศของเราได้ก้าวไปข้างหน้า ไปสู่อนาคตอันจะยิ่งก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง"

กองทัพอากาศไทยได้รับมอบ T-33A ชุดแรก 3 เครื่อง ในเดือนกรกฏาคม 2498 ถัดมาไม่กี่เดือน กองทัพอากาศไทยก็ได้รับมอบ T-33A เพิ่มอีก 6 เครื่อง  ปี 2499 ได้รับเพิ่มอีก 7 เครื่อง จากกองทัพอากาศสหรัฐฯ แบบให้เปล่า ตามโครงการช่วยเหลือทางทหารและทดแทน บ.T-33A ที่ต้องจำหน่ายเพราะนักบินไทยต้องฝึกกันอย่างหนัก เพื่อเตรียมรับเครื่องบินเจ็ตขับไล่แบบ F-84G ในปี 2507-2513 กองทัพอากาศสหรัฐฯได้มอบ RT-33A เครื่องบินลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศที่นั่งเดี่ยว ให้กองทัพอากาศไทย ตามความช่วยเหลืออีกจำนวนหนึ่งตามระเบียบเดิม ที่ประเทศซึ่งได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯได้ตกลงกันไว้ว่า หากเครื่องบินและอาวุธยุทธโธปกรณ์ต่างๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ เมื่อปลดประจำการแล้ว จะต้องส่งคืนกองทัพสหรัฐฯหรือจะต้องทำลายทิ้ง


ซึ่งจะพบได้ว่าในภายหลังเครื่องบินส่วนใหญ่จะถูกทำลายทิ้งเพื่อไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของฝ่ายตรงข้าม ตามยุคสงครามเย็น (ก่อนปี 1989) แต่หากยังพอใช้อยู่ได้บ้าง ก็จะส่งมอบคืนให้สหรัฐฯและสหรัฐฯก็จะมอบให้กับประเทศอื่นๆอีกครั้ง

ตัวอย่างการโอนมอบเครื่องบินและอาวุธยุทธโธปกรณ์ต่างๆ
ให้กับประเทศอื่นของสหรัฐอเมริกา
เช่น

  • เครื่องบินแบบ F-8F ของกองทัพอากาศเวียตนามใต้ จำนวนราวๆ 20 เครื่อง โอนให้กองทัพอากาศไทยเพื่อใช้เป็นอะไหล่ให้กับ F-8F BEARCAT ที่กองทัพอากาศไทยมีมากกว่า 100 เครื่อง เมื่อได้รับ T-28 มาทดแทน

  • ปี 2527 กองทัพอากาศไทยปลดประจำการ T-28D ราวๆ 20 เครื่อง ส่วนหนึ่งขอไว้ตั้งโชว์ตามกองบินต่างๆ ซึ่งภายหลังมูลนิธิอนุรักษ์อากาศยานไทยได้บูรณะทำให้กลับมาบินได้อีก 6 เครื่อง ที่เหลือต้องคืนให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ และภายหลังกองทัพอากาศสหรัฐฯ ก็มอบ T-28D เหล่านี้ให้กองทัพอากาศฟิลิปินส์ในเวลาต่อมา

ที่กล่าวมานี้ถ้าสังเกตุจะพบว่า T-33A ที่พบเห็นในประเทศไทยขณะนี้จะมีไม่กี่เครื่องที่เป็นเครื่องบินในรุ่น ปี 2498-2513 โดยดูได้จากช่วงหลังๆเลขที่ขีดเขียนไว้ใต้ชุดพวงหางทั้ง 2 ข้างที่ลงท้ายว่า -13 นั้นหมายความว่า เข้าประจำการในปี 2513 ไม่ว่าจะลงท้ายด้วยเลขอะไร เราก็สามารถเทียบกับปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. แต่

ระยะหลังเราจะเห็น -26 หรือ -31 ก็คือได้จัดซื้อจากกองทัพอากาศฝรั่งเศสจำนวน 12 เครื่องในปี 2526 และจากกองทัพอากาศสหรัฐฯจำนวน 7 เครื่องในปี 2531  ซึ่งรวมแล้วกองทัพอากาศสหรัฐฯได้มอบ T-33A และ RT-33A ไว้ในประจำการตั้งแต่ 27 กรกฏาคม 2498 จนถึงวันปลดประจำการ 30 กันยายน 2538 รวม 38 เครื่อง จากข้อมูลที่ศึกษาพบว่าเครื่องบินในชุด T-33A ที่เก่าที่สุดไม่ได้อยู่ตั้งแต่ปี 2498-2538 (40 ปี)  แต่ที่เก่าที่สุดคือ RT-33 เครื่องบินลาดตระเวนที่เข้าประจำการในปี 2513-2538 เป็นเวลา 25 ปีที่มีเหลืออยู่ 3 เครื่องและปลดประจำการไปแล้ว

T-33A เดิมมีฉายาว่า "SHOOTING STAR" ภายหลังเปลี่ยนฉายาใหม่
เพราะฉายาเดิมนั้นเป็นของ F-80 โดยเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า "T-BIRD"
T-33A ได้รับสัญลักษณ์ในกองทัพอากาศไทยว่า "บฝ-11"
RT-33A ได้รับสัญลักษณ์ในกองทัพอากาศไทยว่า "บตฝ-11"

โดยทั้งหมดทั้งหมดเข้าประจำในฝูงบินฝึกขับไล่ที่ 10 โดยมี น.ต. บัญชา สุขานุศาสตร์ เป็นผู้บังคับฝูง โดยประจำการร่วมกับฝูงบินฝึกขับไล่ที่ 12 และ ที่13 และประจำการอยู่ในกองบิน 1 ซึ่งแต่เดิมนั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ต่อมาในปี 2504 ฝูงบิน 10 เปลี่ยนชื่อเป็นฝูงบิน 11 โดยมีภารกิจฝึกนักบินไอพ่นให้พร้อมบินกับเครื่องบินขับไล่ไอพ่น


ลายปี 2522 กองทัพอากาศจำเป็นต้องย้ายกองบิน 1 จากฝั่งท่าอากาศยานดอนเมือง ไปอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาแทน ซึ่งสนามบินที่อยู่จังหวัดนครราชสีมาเคยเป็นสนามบินที่กองทัพอากาศสหรัฐฯสร้างไว้คือ กองบินขับไล่ที่ 388 ที่สหรัฐฯถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยหมดแล้ว

ในเดือนตุลาคม 2522 ฝูงบิน 101 ถอนตัวเป็นฝูงสุดท้าย จากดอนเมืองไปโคราชจนกระทั่งปี 2528 ฝูงบิน 101 ก็ย้าย T-33A และ RT-33 จากกองบิน 1 จากโคราชไปยังที่ตั้งใหม่ คือ กองบิน 56 ฝูง 561 ฐานทัพอากาศหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปฏิบัติหน้าที่ฝึกบินและลาดตระเวนพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเล ทางภาคใต้ของไทย จนกระทั่งปี 2538 ก็ปลดประจำการไปในที่สุด.