BumQ 3

เครื่องบินฝึกไอพ่น T-33

T-33
เครื่องบินฝึกไอพ่
ากจะกล่าวถึงเครื่องบินฝึกไอพ่นอย่าง T-33 แล้ว คิดว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก โดยเฉพาะคนที่ชอบเครื่องบิน เพราะเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบ T-33 เป็นเครื่องไอพ่นแบบแรกของกองทัพอากาศและเป็นเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบแรกของกองทัพอากาศสหรัฐฯ

เครื่องบินฝึกไอพ่นแบบ T-33 สร้างโดยบริษัทล๊อคฮีท (Lockheed) ผู้สร้างเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ F-16 ในปัจจุบันนั่นเอง โดย T-33 ได้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากเครื่องบินขับไล่ไอพ่น F-80 ที่ใช้ในช่วงสงครามเกาหลีตอนต้น โดยช่วงแรกนั้นได้กำหนดชื่อสัญลักษณ์ของกองทัพอากาศสหรัฐฯว่า TF-80C ต่อมาจัดเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯโดยกำหนดชื่อเป็น TV-2

องทัพอากาศไทยได้รับ T-33A รุ่นแรกจากสหรัฐฯตามความช่วยทางทหารเพื่อปรับปรุงกองทัพ โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯได้ทำการฝึกนักบินไทยตามความช่วยเหลือทางทหารที่ฐานทัพอากาศ โยโกต้า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย พล.อ.ท.ทวี จุลละทรัพย์  พล.อ.ต.บุญชู จันทรุเบกษา และ พล.อ.ต.มานพ สุริยะ ในช่วงปี 2498 โดยที่นักบินทั้ง 3 ท่าน ซึ่งถือว่าเป็นนักบินเจ็ตรุ่นบุกเบิก 3 คนแรกของประเทศไทย ที่ไปทำการฝึกบินที่ประเทศญี่ปุ่น แล้วนำเครื่องเหล่านี้กลับมาเมืองไทย

นายพลอากาศทั้ง 3 นายที่มียศขณะนั้นท่านได้รับคำสั่งจาก จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้ไปฝึกเครื่องบินไอพ่นและให้นำเครื่องบินไอพ่นแบบ T-33A กลับมาเมืองไทย ชนิดที่ว่า ก่อนไปนั้นว่ากันว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอเมริกาโรเบิร์ต แม็กนามารา ซึ่งเคยดูถูกดูแคลนนักบินไทยว่า "แค่เครื่องบินขับไล่แบบสปีตไฟร์ท นักบินไทยก็นำไปตก แล้วจะไปบินอะไรได้กับเครื่องไอพ่น"

พลอากาศโท ทวี จุลละทรัพย์ นักบินขับไล่ฝีมือเยี่ยมอดีตผู้บังคับฝูงบินขับไล่ฮายาบูซ่า เครื่องบินขับไล่ที่สุดยอดที่สุดของไทยและญี่ปุ่นในภูมิภาคแทบนี้ เป็นหัวหน้าชุดเดินทางไปทำการฝึกบินและรับเครื่องบินชุดนี้ ท่านก็ตอบเจ้าหน้าที่อเมริกันที่ชอบดูถูกดูแคลนคนเอเชียไปว่า "สมัยก่อนที่ญี่ปุ่นจะโจมตีเพิลฮาเบอร์นั้น ทางหน่วยสืบราชการลับของอเมริกาได้ทราบว่านักบินญี่ปุ่นไม่มีความสามารถในการบินเทียบเท่านักบินอเมริกัน เพราะชาวญี่ปุ่นส่วมมากสวมแว่นตา ซึ่งส่งผลให้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นอย่างไรก็รู้อยู่แล้ว" เจ้าหน้าที่อเมริกันจึงยอมและให้สัญญาว่า ถ้าปล่อยให้บินเดี่ยวได้ ก็จะปล่อยให้นำเครื่องบิน T-33A กลับเมืองไทยได้เลย

โดยเฉพาะนายพลทั้ง 3 ท่าน ที่เคยเป็นนักบินขับไล่ฮายาบูซ่า และ โอตะ ไล่ยิงเครื่องบินอเมริกันเหนือน่านฟ้าไทยมาแล้ว เพียงแค่ 3 สัปดาห์ ท่านทั้ง 3 ก็ปล่อยเดี่ยวและพร้อมที่จะนำเครื่องบิน 3 เครื่องแรกกลับสู่ประเทศไทย

วันที่ 27 กรกฏาคม พ.ศ. 2498 นายพลทั้ง 3 และนักบินอเมริกันก็นำเครื่องบินไอพ่นแบบ T-33A  สามเครื่องแรก มาลงยังสนามบินดอนเมือง โดยมีจอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ผู้บัญชาการทหารอากาศ สมัยนั้นและอดีตเจ้ากรมอากาศยาน ผู้ที่ชาวเวหาถือว่าเป็นบุพการีของกองทัพอากาศ คือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ที่ไปคอยรับและท่านได้กล่าวอย่างยินดีว่า "ผมขอแสดงความยินดีและปลื้มใจในพวกคุณมาก คุณทวีฯ ผมได้เคยนำเครื่องบินใบพัดเข้ามา แต่บัดนี้พวกคุณได้นำเครื่องบินเจ็ตเข้ามา นับว่าเป็นก้าวหนึ่งที่กองทัพอากาศของเราได้ก้าวไปข้างหน้า ไปสู่อนาคตอันจะยิ่งก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง"

กองทัพอากาศไทยได้รับมอบ T-33A ชุดแรก 3 เครื่อง ในเดือนกรกฏาคม 2498 ถัดมาไม่กี่เดือน กองทัพอากาศไทยก็ได้รับมอบ T-33A เพิ่มอีก 6 เครื่อง  ปี 2499 ได้รับเพิ่มอีก 7 เครื่อง จากกองทัพอากาศสหรัฐฯ แบบให้เปล่า ตามโครงการช่วยเหลือทางทหารและทดแทน บ.T-33A ที่ต้องจำหน่ายเพราะนักบินไทยต้องฝึกกันอย่างหนัก เพื่อเตรียมรับเครื่องบินเจ็ตขับไล่แบบ F-84G ในปี 2507-2513 กองทัพอากาศสหรัฐฯได้มอบ RT-33A เครื่องบินลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศที่นั่งเดี่ยว ให้กองทัพอากาศไทย ตามความช่วยเหลืออีกจำนวนหนึ่งตามระเบียบเดิม ที่ประเทศซึ่งได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯได้ตกลงกันไว้ว่า หากเครื่องบินและอาวุธยุทธโธปกรณ์ต่างๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ เมื่อปลดประจำการแล้ว จะต้องส่งคืนกองทัพสหรัฐฯหรือจะต้องทำลายทิ้ง


ซึ่งจะพบได้ว่าในภายหลังเครื่องบินส่วนใหญ่จะถูกทำลายทิ้งเพื่อไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของฝ่ายตรงข้าม ตามยุคสงครามเย็น (ก่อนปี 1989) แต่หากยังพอใช้อยู่ได้บ้าง ก็จะส่งมอบคืนให้สหรัฐฯและสหรัฐฯก็จะมอบให้กับประเทศอื่นๆอีกครั้ง

ตัวอย่างการโอนมอบเครื่องบินและอาวุธยุทธโธปกรณ์ต่างๆ
ให้กับประเทศอื่นของสหรัฐอเมริกา
เช่น

  • เครื่องบินแบบ F-8F ของกองทัพอากาศเวียตนามใต้ จำนวนราวๆ 20 เครื่อง โอนให้กองทัพอากาศไทยเพื่อใช้เป็นอะไหล่ให้กับ F-8F BEARCAT ที่กองทัพอากาศไทยมีมากกว่า 100 เครื่อง เมื่อได้รับ T-28 มาทดแทน

  • ปี 2527 กองทัพอากาศไทยปลดประจำการ T-28D ราวๆ 20 เครื่อง ส่วนหนึ่งขอไว้ตั้งโชว์ตามกองบินต่างๆ ซึ่งภายหลังมูลนิธิอนุรักษ์อากาศยานไทยได้บูรณะทำให้กลับมาบินได้อีก 6 เครื่อง ที่เหลือต้องคืนให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ และภายหลังกองทัพอากาศสหรัฐฯ ก็มอบ T-28D เหล่านี้ให้กองทัพอากาศฟิลิปินส์ในเวลาต่อมา

ที่กล่าวมานี้ถ้าสังเกตุจะพบว่า T-33A ที่พบเห็นในประเทศไทยขณะนี้จะมีไม่กี่เครื่องที่เป็นเครื่องบินในรุ่น ปี 2498-2513 โดยดูได้จากช่วงหลังๆเลขที่ขีดเขียนไว้ใต้ชุดพวงหางทั้ง 2 ข้างที่ลงท้ายว่า -13 นั้นหมายความว่า เข้าประจำการในปี 2513 ไม่ว่าจะลงท้ายด้วยเลขอะไร เราก็สามารถเทียบกับปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. แต่

ระยะหลังเราจะเห็น -26 หรือ -31 ก็คือได้จัดซื้อจากกองทัพอากาศฝรั่งเศสจำนวน 12 เครื่องในปี 2526 และจากกองทัพอากาศสหรัฐฯจำนวน 7 เครื่องในปี 2531  ซึ่งรวมแล้วกองทัพอากาศสหรัฐฯได้มอบ T-33A และ RT-33A ไว้ในประจำการตั้งแต่ 27 กรกฏาคม 2498 จนถึงวันปลดประจำการ 30 กันยายน 2538 รวม 38 เครื่อง จากข้อมูลที่ศึกษาพบว่าเครื่องบินในชุด T-33A ที่เก่าที่สุดไม่ได้อยู่ตั้งแต่ปี 2498-2538 (40 ปี)  แต่ที่เก่าที่สุดคือ RT-33 เครื่องบินลาดตระเวนที่เข้าประจำการในปี 2513-2538 เป็นเวลา 25 ปีที่มีเหลืออยู่ 3 เครื่องและปลดประจำการไปแล้ว

T-33A เดิมมีฉายาว่า "SHOOTING STAR" ภายหลังเปลี่ยนฉายาใหม่
เพราะฉายาเดิมนั้นเป็นของ F-80 โดยเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า "T-BIRD"
T-33A ได้รับสัญลักษณ์ในกองทัพอากาศไทยว่า "บฝ-11"
RT-33A ได้รับสัญลักษณ์ในกองทัพอากาศไทยว่า "บตฝ-11"

โดยทั้งหมดทั้งหมดเข้าประจำในฝูงบินฝึกขับไล่ที่ 10 โดยมี น.ต. บัญชา สุขานุศาสตร์ เป็นผู้บังคับฝูง โดยประจำการร่วมกับฝูงบินฝึกขับไล่ที่ 12 และ ที่13 และประจำการอยู่ในกองบิน 1 ซึ่งแต่เดิมนั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ต่อมาในปี 2504 ฝูงบิน 10 เปลี่ยนชื่อเป็นฝูงบิน 11 โดยมีภารกิจฝึกนักบินไอพ่นให้พร้อมบินกับเครื่องบินขับไล่ไอพ่น


ลายปี 2522 กองทัพอากาศจำเป็นต้องย้ายกองบิน 1 จากฝั่งท่าอากาศยานดอนเมือง ไปอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาแทน ซึ่งสนามบินที่อยู่จังหวัดนครราชสีมาเคยเป็นสนามบินที่กองทัพอากาศสหรัฐฯสร้างไว้คือ กองบินขับไล่ที่ 388 ที่สหรัฐฯถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยหมดแล้ว

ในเดือนตุลาคม 2522 ฝูงบิน 101 ถอนตัวเป็นฝูงสุดท้าย จากดอนเมืองไปโคราชจนกระทั่งปี 2528 ฝูงบิน 101 ก็ย้าย T-33A และ RT-33 จากกองบิน 1 จากโคราชไปยังที่ตั้งใหม่ คือ กองบิน 56 ฝูง 561 ฐานทัพอากาศหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปฏิบัติหน้าที่ฝึกบินและลาดตระเวนพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเล ทางภาคใต้ของไทย จนกระทั่งปี 2538 ก็ปลดประจำการไปในที่สุด.

 

US.NAVY SEAL

ก่อนจะเป็นหน่วย
US.NAVY SEAL
หน่วยปฏิบัติการพิ
นปี 1943 หน่วยสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกของนาวิกโยธินได้ทำการยกพลขึ้นบกที่ทาวาร่า แต่ด้วยข้อมูลข่าวกรองที่ไม่เพียงพอเกี่ยวกับแนวหินโสโครกและกระแสน้ำรอบๆพื้นที่ จึงทำให้ยานลำเลียงพลสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก มีอันต้องเกยตื้น ติดอยู่ที่แนวหินโสโครกหลายร้อยหลา ก่อนจะเทียบขึ้นชาดหาด
 

เหตุการณ์ครั้งนั้นได้ส่งผลให้เหล่านาวิกโยธิน ต้องบุกตะลุยน้ำทะเลในระยะทางที่เหลือ โดยแบกเครื่องสนามเต็มอัตราศึกไว้บนหลัง ผลที่ตามมาคือความย่อยยับที่ไม่อาจหลีกหนีพ้น นาวิกโยธินทำยกพลขึ้นมีอันต้องจมน้ำตาย ขณะตะเกียกตะกายเข้าหาฝั่งเป็นจำนวนมาก นับเป็นโศกนาฏกรรมขั้นรุงแรงของเหล่านาวิกโยธิน มันรุนแรงมากเกินกว่าจำนวนนาวิกโยธินที่ถูกสังหารโดยทหารของพระจักรพรรดิญี่ปุ่นเสียอีก
 
บทเรียนจากผลพวงอันอัปยศอดสูครั้งนี้ ทำให้พลเรือเอก เคลลี่ เทอร์เนอร์ ก่อตั้ง "หน่วยสอดแนม" (SCOUT UNIT : หน่วยสอดแนม - แมวมอง) ขึ้นโดยดึงยอดฝีมือจากหน่วยนักทำลายทางน้ำเข้าร่วมก่อตั้งทีม เพื่อใช้สอดแนมและทำลายสิ่งกีดขวางตามแนวชายฝั่ง อันจะเป็นอุปสรรคในการยกพลขึ้นบก

พวกเขาใช้ชื่อหน่วยงานนี้ว่า "UNDERWATER DEMOLITION TEAM" หรือ "นักทำลายใต้น้ำ" ชื่อย่อ "UDT" หน่วยเริ่มปฏิบัติภาระกิจในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

หลังจากเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 หน่วย UDT ได้ยุบหหน่วยงานลง แต่ยังคงเหลือไว้เพียงทีมเล็กๆ ซึ่งพวกเขายังคงพัฒนาฝีมือของพวกเขาต่อไปจวบจนปี 1947 เครื่องมือช่วยหายใจได้ถูกนำมาใช้ในการดำน้ำ โดยก่อนหน้านี้ UDT ยังเป็นเพียงแค่หน่วยงานที่อาศัยการว่ายน้ำและดำน้ำ โดยกลั้นหายใจเป็นหลัก ในปีเดียวกันนี้เองที่ชุดดำน้ำได้ถูกพัฒนาตามออกมาเพื่อเหล่ามนุษย์กบโดยเฉพาะ
 
ปี 1961 ประธานาธิบดีหนุ่มไฟแรง JFK ได้มีคำสั่งโดยตรงให้เพิ่มขีดความสามารถและขอบข่ายในการทำสงครามนอกแบบ (Unconventional Warfare) กองทัพเรือตอบสนองต่อคำสั่งนี้ด้วยการออกแบบเรือท้องแบนสำหรับภาระกิจทางน้ำ ในสงครามนอกแบบพร้อมทั้งปรับปรุง UDT ให้เป็นหน่วยงานที่เยี่ยมที่สุดสำหรับการทำสงครามแบบกองโจร (Guerrilla Warfare) และยังก่อตั้ง "หน่วยปฏิบัติการพิเศษ" (Special Operations Teams) ขึ้น โดยมอบหมายหน้าที่สังเกตุการณ์และสอดแนมให้กับ UDT เป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีรหัสเรียกขานในภายหลังที่เป็นที่ทราบกันดีจนถึงปัจจุบันว่า SEAL (Sea Air Land) อันหมายถึงขอบเขตความสามารถในการปฏิบัติภาระกิจได้ทุกสภาพพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นในน้ำ บนฟ้า หรือบนบก ดังที่เรียกกันในบ้านเราว่า "น้ำ ฟ้า ฝั่ง"

SEAL (ซีล) หน่วยแรกเข้าประจำการเมื่อ 1 มกราคม 1962
จากนั้นเป็นต้นมาจนเข้าสู้ยุคสงครามเวียตนามมาถึง SEAL ได้มีบทบาทอย่างมากจนมีความต้องการที่จะแยกตัวออกจาก UDT เพราะ SEAL มีบทบาทโดดเด่นจนกลืน UDT แทบจะตายไปหมดและในที่สุด วันที่ 1 พฤษภาคม 1983 UDT ก็ได้ยุบตัวลงเปิดหน่วยอย่างเป็นทางการและรวมทีมเข้ากับหน่วย SEAL และผลงานฝากชื่อครั้งสุดท้ายของ UDT คือการกู้แคปซูลยานอวกาศ "APOLLO" (อพอลโล) ที่ไปเยือนดวงจันทรกลับมายังโลกได้ปลอดภัย
 

ทุกวันนี้ SEAL มีบทบาทอย่างมากในปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายและกบฏทั่วทุกมุมโลก พวกเขาเป็นผู้พัฒนาอาวุธรวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันและชื่อเสียงของพวกเขาเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลก  US.NAVY SEAL

Crossbower อิศวินหน้าไม้

Crossbower
รอสโบวเออร์ เป็นนักรบเมื่อปีคริสต์ศักราช 1380 ซึ่งเป็นยุคต้นๆ ยุคที่มีอัศวินในยุคแรก มีปราสาทราชวัง ซึ่งยุคนั้นผมว่าอัศวินเสื้อเกราะเป็นแบบที่คลาสสิคมากๆ ผมจะนึกถึงภาพของอัศวินโต๊ะกลมและกษัตริย์อาเธอร์ประมาณนั้น มีการดวลทวนกันบนหลังม้าซึ่งมีการประดับประดาตัวม้าอย่างสวยงาม พวกอัศวินก็จะสวมชุดเกราะที่หนักอึ้ง แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีสิทธิ์สวมเกราะอัศวินได้ เพราะผู้ที่เป็นอัศวินอย่างแท้จริงนั้นจะต้องมีฝีมือทั้งการรบแทบทุกรูปแบบ ทุกระยะประชิด ใช้อาวุธต่างๆได้อย่างชำนาญยามสถานการณ์คับขันได้เป็นอย่างดี จึงจะมีสิทธิ์ที่จะเป็นอัศวินได้

ยุคนี้เข้าสู่ยุคที่มีการใช้หน้าไม้เป็นอาวุธแล้วเริ่มทันสมัยขึ้น ในขณะที่ยุคก่อนหน้านั้นเป็นยุคที่ใช้ธนูในการยิงต้องค่อยๆ หยิบลูกธนูขึ้นมาง้างทีละดอกแล้วยิง แต่หน้าไม้สามารถขึ้นง้างไว้ก่อนได้เผื่อมีข้าศึกจะสามารถยิงได้ทันท่วงที 
ตัวนี้เป็นผลิตภัณฑ์ของเวอร์ลินเดนผู้ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในวงการฟิกเกอร์ มีชิ้นส่วนมาให้หลายชิ้น หัว 1 ชิ้น ตัว 1 ชิ้น แขน 2 ชิ้น ถุงมือ 2 ชิ้น ช่วงขา 1 ชิ้น เท้าอีก 2 ชิ้น ซองใส่ลูกธนู 1 ชิ้น ลูกธนู 6 ชิ้น ดาบอีก 2 ชิ้น ส่วนหน้าไม้แยกมาให้ทั้งหมด 5 ชิ้น เกราะสีเงินตรงหน้าอกอีก 2 ชิ้นและฐานปูนแยกมา 3 ชิ้น

 
วิธีทำสีนั้นเริ่มจากฐานก็ประกอบฐานก่อน แล้วทำสี ใช้สีเทาเบอร์ 11 พ่น แล้วพ่นไล่ด้วยเบอร์ 35 ตามร่องของแผ่นหิน จากนั้นก็เวทเธอร์ริ่งด้วย สีน้ำมันเบอร์ 35 ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วก็แต้มด้วยสีน้ำมันเขียวเบอร์ 34 จากนั้นก็มาทำสีลำตัว ชุดข้างในใช้สีเขียวผสมดำแล้วพ่นลงไป แล้วใช้สีเดิมผสมดำให้เข้มขึ้นไปอีก แล้วทาตามร่องรอยเกลี่ยพอประมาณ สีโลหะก็ใช้เบอร์ 28  ตามด้วยดรายบรัชสีเงิน

ส่วนชุดเกราะดำใช้มิสเตอร์เมทัลลิกเบอร์ 214 ทาแล้วเช็ดเบาๆให้ขึ้นเงา อย่าเช็ดแรง เพราะจะทำให้สีลอกออกหมด จากนั้นก็เก็บรายละเอียดที่เป็นสีน้ำตาลโทนเดียวกันหมด แต่ไม่แนะนำให้ใช้สีน้ำตาลเป็นโทนเดียวกันหมด ให้ปนสีดำลงไปบ้าง สีแดงลงไปบ้าง เพื่อให้ออกมาเป็นธรรมชาติที่สุด เสร็จแล้วก็พ่นด้านในส่วนที่ควรจะพ่น มี ผ้า หน้าไม้ รองเท้า ส่วนฐานก็ควรพ่นด้านในด้วยเช่นกัน

Eric HartMann สอยเครื่องบินพันธมิตรตก 353 ลำสถิติโลก

 Eric HartMann
สอยเครื่องบินพันธมิตรตก 353 ลำสถิติโลก
 


















ศึกเวหาเหนือน่านฟ้าเยอรมันในช่วงปี 1943 นั้นถือได้ว่าเป็นการประลองยุธครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างนักบินพันธมิตรและนักบินนาซีเยอรมัน โดยเฉพาะในการรบเหนือน่านฟ้าเมือง "ชไวน์เฟิร์ท" แห่งเดียวก็ดุเดือดที่สุดในประวัติศาสตร์การรบทางอากาศของโลกเลยทีเดียว มีเครื่องบินรบเขาร่วมสังฆกรรมไม่ต่ำกว่า 500 ลำ ทั้งของเยอรมันและสัมพันธมิตร โดยเฉพาะของอเมริกา การที่พันธมิตรลงมือโจมตีเมืองชไวน์เฟิร์ทในครั้งนี้นับว่าเสี่ยงอย่างร้ายกาจ เพราะด้วยเหตุที่นักบินรบเยอรมันที่อยู่ในระดับหัวกะทิได้มารวมตัวอยู่ในบ้านของตนเองอีกครั้งหลังจากที่ได้ออกสู่แนวหน้ามานาน ฉะนั้นแล้วการต่อต้านทางอากาศของทัพฟ้าเยอรมัน ย่อมจะต้องดุเดือดอย่างไม่ต้องสงสัย

ว่ากันว่านักบินเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือได้ว่าเป็นสุดยอดจัดเป็นนักบินขับไล่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก ดูได้จากสถิติการยิงเครื่องบินรบของข้าศึกตกกลางอากาศเบ็ดเสร็จรวมกันแล้วมากกว่านักบินของพันธมิตรรวมกันทั้งหมดเสียอีก


ในการรบที่ชไวน์เฟิร์ทนี้ก็เช่นกัน นักบินเยอรมันนำเครื่องบินแทบทุกชนิดเท่าที่ตนมีอยู่ในขณะนั้นไม่ว่าจะเป็นเครื่องรุ่นเก่าอย่าง เมชเชอร์สมิทบี เอฟ109 ไปจนถึงเครื่องเอ็มอี210 ซึ่งอยู่ในขั้นทดสอบประสิทธิภาพก็ยังอุตส่าห์เอาเข้าทำการรบจนได้ ซึ่งทำความเสียหายให้แก่ขบวนเครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องขับไล่อเมริกันมากมาย

นักบินเยอรมันที่จัดอยู่ในอันดับแถวหน้าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีอยู่ด้วยกันหลายคน แต่บุคคลที่จะยกตัวอย่าง เป็นสุดยอดแห่งเสืออากาศเยอรมัน ผู้ทำสถิติยิงเครื่องบินข้าศึกสูดสุดถึง 353 ลำ และสถิตินี้ถือได้ว่าเป็นสถิติที่สุดที่สุดในโลกตลอดกาลของการรบทางอากาศ เขาผู้นั้นมีนามว่า เอริค ฮาร์ทมานน์

ฮาร์ดมานน์เกิดในชนบทเล็กๆแห่งหนึ่งนามว่า ไว้ส์สัค เมื่อวันที่ 19 เมษายน ปี 1922 บิดาเป็นแพทย์ มารดาเป็นเจ้าของสโมสรการบินเล็กๆ เมื่อตอนเด็กฮาร์ทมานน์ได้มีโอกาสสัมผัสเครื่องบินลำแรกในชีวิตโดยมารดาของเขา ซึ่งขณะนั้นมารดาของเขาเป็นนักบินหญิงที่เก่งกาจ มารดาของเขาจึงชอบพาลูกน้อยติดสอยห้อยตามขึ้นไปกับเครื่องบินอยู่บ่อยๆ นั่นเองจึงทำให้ฮาร์ทมานน์รู้สึกรักและชอบการบินเป็นชีวิตจิตใจ จนเมื่อจบไฮสกูล ฮาร์ทมานน์จึงเข้าสมัครเป็นศิษย์การบินของกองทัพอากาศใหม่ ในขณะที่กองทัพเยอรมันกำลังเข้าบดขยี้กลุ่มประเทศยุโรปในปี 1940

หลังจากการฝึกฝนอย่างหนักของโรงเรียนการบินลุฟวัฟเฟ่ เขาสำเร็จออกมาบินกับเครื่องเมสเชอร์สมิท BF 109 และเข้าประจำการในแนวหน้ารัสเซียทันที ที่ผ่านมาในช่วงแรกๆของชีวิตการเป็นลูกทัพฟ้าของฮาร์ทมานน์ดูเหมือนว่าจะย่ำแย่เต็มที ทำอะไรก็ผิดหูผิดตาผู้บังคับฝูงไปเสียหมดทุกเรื่อง การเสนอแนวคิดในการรบของเขาที่แปลกออกไปก็ไม่ค่อยจะมีใครยอมรับเสียอีก หนำซ้ำยังถูกกักกันบริเวณเสียอีกหนึ่งอาทิตย์ โทษฐานทำท่าบินผาดโผนโดยไม่ได้รับอนุญาติ แต่นั้นล่ะ เพชรอยู่ที่ไหน ก็คือเพชร ฮาร์ทมานน์เริ่มที่จะพยายามปรับปรุงตัวเองหมั่นฝึกฝนจากนักบินรุ่นพี่ที่มีความสามารถหลายคน แล้วนำมาดัดแปลงให้เข้ากับยุทธวิธีของตนเองอย่างกลมกลืน

จนในที่สุดเขาก็สามารถนำยุทธวิธีของตนเข้าห้ำหันข้าศึกจนได้รับชัยชนะเรื่อยมา ยุทธวิธีของเขาคือ พยายามเข้าหาข้าศึกให้ใกล้มากที่สุดโดยที่ข้าศึกไม่ทันรู้ตัว แล้วปล่อยกระสุนออกไปในระยะที่คิดว่าข้าศึกไม่รอดแน่ ในที่สุดแต้มของเขาก็มาถึง 140 เครื่อง เขาจึงได้รับเหรียญกางเขนเหล็ก อันเป็นเหรียญกล้าหาญชั้นอัศวิน ที่ใครๆต่างก็ต้องการมาประดับไว้ จนเมื่อแต้มของเขาพุ่งสูงถึง 300 เครื่อง เขาได้ประดับเพชรที่แถบเหรียญกล้าหาญ อันเป็นอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ตัวฮิตเลอร์มาประดับให้ด้วยตนเอง จนเมื่อเยอรมันพ่ายแพ้แก่พันธมิตรเขาถูกจับเป็นเชลย โดยติดคุกอยู่ในรัสเซีย 10 ปี หลังจากนั้นจึงถูกปล่อยตัวออกมาในปี 1955



ฮาร์ทมานน์ได้เดินทางกลับไปอยู่ในเยอรมันตะวันตกและกลับเข้าร่วมพัฒนากองทัพอากาศตะวันตกยุคใหม่จนถึงปี 1973 เขาก็ได้ลาออกจากกองทัพอากาศแล้วใช้ชีวิตอยู่อย่างสามัญชนกับภรรยาสุดที่รักเออร์ซูล่า อย่างมีความสุขจวบจนกระทั่งปัจจุบัน